ในความสัมพันธ์ระหว่างผู้ชายกับผู้หญิง ความเท่าเทียมทางเพศมีจริงหรือเป็นเพียงภาพมายาในสังคมชายเป็นใหญ่

ความเท่าเทียมทางเพศมันมีอยู่จริงไหม หรือมันเป็นแค่มายาคติเพื่อเติมเต็มความหวังทางอุดมการณ์ว่าเราจะสามารถก้าวข้ามเส้นแบ่งและstereotypeที่แบ่งเป็นสองขั้วอย่างค่อนข้างชัดเจน ผู้หญิงที่ดีควรเป็นอย่างนี้ๆนะต้องเป็นสุภาพสตรี  ผู้ชายควรทำตัวให้สมชายแมนๆอย่าทำตัวเหมือนผู้หญิง เพราะว่าเราอยู่ในสังคมที่เรียกว่าสังคมชายเป็นใหญ่ความเท่าเทียมทางเพศในที่นี้บางคนก็คือการที่ทำให้ผู้หญิงเท่าเทียมกับผู้ชาย หรือบางเคสคือการไปกดขี่ผู้ชายเสียเองซึ่งอาจจะไม่ใช่ความเท่าเทียมทางเพศจริงๆ ด้วยบริบทสังคมกับอะไรหลายๆ ย่างทำให้คำถามที่อยากจะยกขึ้นมานั้นไม่ใช่”อะไรคือความเท่าเทียมทางเพศ” แต่เป็น “ความเท่าเทียมทางเพศมีอยู่จริงหรือไม่หรือเป็นแค่มายาคติบางอย่างเท่านั้น” ตัวอย่างที่น่าสนใจของผู้หญิงกับผู้ชายและขั้วgender roleนี้คือความสัมพันธ์ระหว่างชายกับหญิง ซึ่งเป็นหน่วยย่อยมากๆมากกว่าหน่วยครอบครัว แต่ก็เป็นตัวที่แสดงให้เห็นว่าจริงๆแล้วภาพลักษณ์ บทบาทและหน้าที่ของคนสองคนที่ควรจะเท่ากันตั้งแต่แรกกับถูกสิ่งที่สังคมหล่อหลอมขึ้นมามันทำให้ทั้งสองเพศไม่มีทางที่จะเท่าเทียมกันได้อย่างสมบูรณ์

“มีแฟนแล้วอย่าพึ่งไปมีอะไรกันนะ เราเป็นผู้หญิงมันเสียหาย”

“เสียหายยังไง แล้วทำไมเป็นผู้ชายถึงจะทำไรก็ได้อะ”

“ก็นั่นมันผู้ชาย ยังไงมันก็ไม่เสียหาย ไม่เหมือนกับผู้หญิงหรอก”

บทสนทนากับครอบครัวไม่รู้กี่ครั้งต่อกี่ครั้งที่คนในครอบครัวจะมาเตือนเวลามีแฟนและจะเป็นแบบเดิมซ้ำๆว่าในความสัมพันธ์แบบนี้ผู้หญิงมีแต่เสียกับเสีย ตอนเด็กๆด้วยความโตขึ้นมาในโรงเรียนหญิงล้วนและที่บ้านก็มีแต่ผู้หญิงก็ได้แต่เข้าใจว่าพรหมจรรย์มันเป็นสิ่งที่ควรรักษาเอาไว้ เสียแล้วก็เสียเลย ควรเก็บไว้ให้คนที่รักเท่านั้น คืนวันแต่งงานยิ่งดี ซึ่งถ้าเสียไปแล้วจะทำให้ดูเป็นผู้หญิงที่ถูกเรียกว่าง่าย ใจแตก ผ่านมือคนอื่นมาแล้ว เวลามีเพื่อนที่โรงเรียนมีอะไรกับแฟนแล้วเราก็จะรู้สึกว่าเขาเป็นผู้หญิงปล่อยงเนื้อปล่อยตัวด้วยความที่ถูกปลูกฝังมาแบบนั้น กลายเป็นว่าเป็นเราที่มองแต่ผู้หญิงว่าเสียหาย ไม่ได้สนใจในฝ่ายของผู้ชายว่าจะเสียหายหรือเปล่าเลยทั้งๆที่ทั้งสองคนก็ทำแบบเดียวกันอายุเท่ากัน พอโตขึ้นมาหน่อยนั่นแหละถึงได้เริ่มตั้งคำถามกับตัวเองว่า ทำไมล่ะ ทำไมผู้หญิงถึงเป็นฝ่ายเสีย เพราะแค่เป็นผู้หญิงหรอ เยื่อพรหมจรรย์มันเป็นอะไรที่สำคัญขนาดนั้นเลยหรอ มันก็แค่เยื่อบางๆที่เอาจริงๆไม่น่าจะมีใครเคยเห็นว่าของตัวเองรูปร่างยังไง แล้วทำไมคนถึงให้ความสำคัญกับมันได้ขนาดนี้ แค่เรื่องที่เป็นเรื่องธรรมชาติสุดๆอย่างเรื่องsexก็ถูกสังคมตีกรอบไปแล้วว่าผู้หญิงเป็นฝ่ายเสียเปรียบ กลายเป็นสิ่งของที่ถูกตีค่า รักษาตัวเองรอถวายให้กับผู้ชายที่ไม่ได้มีหลักการอะไรแบบนี้เลย ในขณะที่ผู้ชายนั้นต่อให้ผ่านมากี่ความสัมพันธ์ก็ไม่เสียหาย นอกจากนี้ยังมีเรื่องผู้ชายที่ถูกคาดหวังให้เป็นฝ่ายมี่เข้มแข็งกว่า คอยปกป้องดูแลและหาเลี้ยงครอบครัวเหมือนเป็นช้างเท้าหน้าทั้งๆที่มันควรเป็นอะไรที่แล้วแต่คู่แล้วแต่คนว่าจะตกลงกันยังไง จะแชร์กันไหม ไม่ใช่สถานะที่ถูกสังคมหล่อหลอมตั้งมาเป็นค่าdefualtแบบนี้

แต่จริงๆแล้วความคิดที่ว่าผู้หญิงต้องถือพรหมจรรย์ ทำงานบ้าน ดูแลครอบครัว แล้วผู้ชายเป็นฝ่ายหาเลี้ยงนี้ค่อนข้างเก่าแล้วแต่ก็ยังมีให้เห็นอยู่เยอะเหมือนกัน คุณพ่อที่บ้านเองก็ยังคิดว่าหน้าที่ของเขาไม่ใช่การเก็บบ้าน แต่เป็นหน้าที่ของแม่ สมัยนี้ผู้หญิงทำงานหาเลี้ยงครอบครัวไม่ใช่เรื่องแปลก ผู้หญิงแทบจะมีสิทธิ์ทำอะไรก็ได้เท่าเทียมกับผู้ชาย มีความสัมพันธ์แบบแฟร์ๆที่ต่างคนต่างแชร์ทั้งเงินและบทบาทหน้าที่ แล้วอะไรคือการที่บอกว่ามันยังไม่เท่ากันและไม่มีทางเท่ากันได้จริงๆล่ะ 

ความไม่เท่าเทียมทางเพศในความสัมพันธ์มันและในสังคมชายเป็นใหญ่มันไม่ใช่แค่ผู้หญิงไม่เท่าเทียมกับผู้ชาย แต่ผู้ชายก็ไม่สามารถมีสิทพิเศษบางอย่างเท่าผู้หญิงด้วยเหมือนกัน เอาจริงๆผู้ชายด้วยนั่นแหละที่เป็นเหยื่อของสังคมชายเป็นใหญ่ด้วยเหมือนกัน ถ้าผู้ชายที่มีลักษณะที่เหมือนผู้หญิงบางอย่างเช่นนิสัย ลักษณะหน้าตา ก็จะถูกหาว่าไม่แมน ดูไม่สมชาย และถ้าพูดถึงในความสัมพันธ์ก็ตาม ลองให้ผู้ชายสลับหน้าที่กับผู้หญิงดูสิ (ตามstereotypeของสังคมที่ผู้ชายต้องทำงานผู้หญิงต้องดูแลครอบครัว) ถ้าเป็นผู้ชายอยู่บ้านทำกับข้าวรอให้ผู้หญิงเป็นฝ่ายเลี้ยงดู ถึงทั้งสองคนจะโอเค มันก็จะมีความรู้สึกหรือแรงกดดันบางอย่างว่านี่มันไม่ใช่หน้าที่ที่ควรจะเป็น แม้แต่ผู้เขียนทั้งๆที่พยายามสลัดภาพจำของผู้หญิงผู้ชายออก ตอนที่นึกถึงตัวอย่างนี้ขึ้นมาก็ยังรู้สึกว่ามันแปลก ไม่มีให้เห็นมากนัก อย่างในละครเรื่องเลือดข้นคนจาง มีตัวละครพ่อม่ายคนหนึ่งที่ไม่ทำงาน วันๆแค่รับส่งลูกก็ถูกเรียกว่าเป็นบทผู้ชายขี้แพ้ แต่พอเมื่อสลับกันตามแบบเดิมก็ไม่ได้รู้สึกว่าแปลกอะไร และมีคนรู้จักอยู่เยอะมากที่มีลักษณะความสัมพันธ์แบบนี้ อีกตัวอย่างหนึ่งก็คือการอยากที่จะแต่งงานกับคนรวยของผู้หญิง การอยากให้สามีเลี้ยง ชอบผู้ชายนิสัยรวย จะสังเกตได้ว่าการพูดเล่นๆในลักษณะนี้มีอยู่ทั่วไปและไม่ได้เป็นเรื่องแปลกหรือน่าอับอายแต่อย่างใดในเมื่อสังคมไทยมีความเชื่อว่าสามีต้องเลี้ยงภรรยา แต่เมื่อลองมุมกลับดู ผู้ชายที่จะมาพูดแบบนี้จะถูกมองในด้านลบมากกว่าผู้หญิงมาก ถูกมองเป็นแมงดาเหมือนผู้ชายไม่ได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อพึ่งพาผู้หญิง ถ้าผู้ชายซ้อมภรรยาจะถูกมองว่าเลว แต่ถ้าถูกภรรยาซ้อมจะถูกมองว่าอ่อนแอ จริงๆยุคสมัยนี้ก็เริ่มที่จะเป็นยุคที่กดขี่ผู้หญิงแบบเดิมไม่ได้เหมือนสมัยก่อนแล้ว แต่อย่างไรก็ตามเส้นแบ่งระหว่างสองเพศมันก็เป็นเรื่องที่ยากที่จะข้ามผ่านหรือลบล้างมันออกไปได้

ดังนั้นความเท่าเทียมที่แท้จริงนั้นอาจจะหมายถึงการที่คนเราทุกคนไม่ถูกแบ่งเป็นเพศนั้นเพศนี้เลยด้วยซ้ำ เราไม่สามารถลบล้างภาพจำหรือลักษณะเฉพาะที่มีต่อเพศหญิงเพศชายได้ เราไม่สามารถลบล้างความเชื่อเก่าๆที่มีอยู่ในสังคมได้ มันไม่สามารถถูกลบล้างด่วยแนวคิดใหม่แล้วจะหายไปเลยเหมือนไม่เคยมีอยู่ มันเป็นเรื่องที่พิสูจน์ไม่ได้ตามวิทยาศาสตร์เหมือเรื่องโลกกลมโลกแบน ภาพจำแบบแผนและการถูกกดขี่จากสังคมทั้งผู้หญิงผู้ชายมันมีมานานและซับซ้อนกว่าที่จะลบล้างออกไปจนหมดได้  

แต่ว่าทั้งนี้ทั้งนั้นในความสัมพันธ์ระหว่างสองคนหรือมากกว่าสองคนมันก็เป็นเรื่องส่วนตัวของแต่ละคู่แต่ละคน บางคู่อาจจะอยู่กันแฟร์ๆ บางคู่อาจจะอยู่ตามแบบแผนที่สังคมวางไว้แล้วรู้สึกว่าความสัมพันธ์ของตนนั้นดีแล้วก็ได้ บางคู่อาจจะพอใจแล้วที่จะมีฝ่ายหนึ่งให้มากกว่าฝ่ายหนึ่งให้น้อยกว่า ไม่มีถูกไม่มีผิดอะไรทั้งนั้น เราเองก็ไม่สามรถไปเปลี่ยนแปลงอะไรสังคมได้หรือไปชี้หน้าบอกว่าเธอกำลังอยู่ในความสัมพันธ์ที่ไม่แฟร์อยู่นะ ดังนั้นมันจึงเป็นเรื่องที่ควรคิดได้จากตัวเองว่าไม่ควรมีความสัมพันธ์ไหนที่อยู่ด้วยกันแล้วเอาเปรียบกัน หรือให้ใครรู้สึกว่าถูกเอาเปรียบ ไม่ควรมีใครถูกทำให้เป็นสิ่งของ หรือถ้าทั้งสองฝ่ายพอใจกับความสัมพันธ์ที่มีอยู่ก็ไม่ต้องสนใจsocial normไปเลยในเมื่อสุดท้ายแล้วความสัมพันธ์ก็เป็นเรื่องของคนสองคนอยู่ดี

ความเท่าเทียมทางเพศมันมีอยู่จริงไหม หรือมันเป็นแค่มายาคติเพื่อเติมเต็มความหวังทางอุดมการณ์ว่าเราจะสามารถก้าวข้ามเส้นแบ่งและstereotypeที่แบ่งเป็นสองขั้วอย่างค่อนข้างชัดเจน ผู้หญิงที่ดีควรเป็นอย่างนี้ๆนะต้องเป็นสุภาพสตรี  ผู้ชายควรทำตัวให้สมชายแมนๆอย่าทำตัวเหมือนผู้หญิง เพราะว่าเราอยู่ในสังคมที่เรียกว่าสังคมชายเป็นใหญ่ความเท่าเทียมทางเพศในที่นี้บางคนก็คือการที่ทำให้ผู้หญิงเท่าเทียมกับผู้ชาย หรือบางเคสคือการไปกดขี่ผู้ชายเสียเองซึ่งอาจจะไม่ใช่ความเท่าเทียมทางเพศจริงๆ ด้วยบริบทสังคมกับอะไรหลายๆ ย่างทำให้คำถามที่อยากจะยกขึ้นมานั้นไม่ใช่”อะไรคือความเท่าเทียมทางเพศ” แต่เป็น “ความเท่าเทียมทางเพศมีอยู่จริงหรือไม่หรือเป็นแค่มายาคติบางอย่างเท่านั้น” ตัวอย่างที่น่าสนใจของผู้หญิงกับผู้ชายและขั้วgender roleนี้คือความสัมพันธ์ระหว่างชายกับหญิง ซึ่งเป็นหน่วยย่อยมากๆมากกว่าหน่วยครอบครัว แต่ก็เป็นตัวที่แสดงให้เห็นว่าจริงๆแล้วภาพลักษณ์ บทบาทและหน้าที่ของคนสองคนที่ควรจะเท่ากันตั้งแต่แรกกับถูกสิ่งที่สังคมหล่อหลอมขึ้นมามันทำให้ทั้งสองเพศไม่มีทางที่จะเท่าเทียมกันได้อย่างสมบูรณ์

“มีแฟนแล้วอย่าพึ่งไปมีอะไรกันนะ เราเป็นผู้หญิงมันเสียหาย”

“เสียหายยังไง แล้วทำไมเป็นผู้ชายถึงจะทำไรก็ได้อะ”

“ก็นั่นมันผู้ชาย ยังไงมันก็ไม่เสียหาย ไม่เหมือนกับผู้หญิงหรอก”

บทสนทนากับครอบครัวไม่รู้กี่ครั้งต่อกี่ครั้งที่คนในครอบครัวจะมาเตือนเวลามีแฟนและจะเป็นแบบเดิมซ้ำๆว่าในความสัมพันธ์แบบนี้ผู้หญิงมีแต่เสียกับเสีย ตอนเด็กๆด้วยความโตขึ้นมาในโรงเรียนหญิงล้วนและที่บ้านก็มีแต่ผู้หญิงก็ได้แต่เข้าใจว่าพรหมจรรย์มันเป็นสิ่งที่ควรรักษาเอาไว้ เสียแล้วก็เสียเลย ควรเก็บไว้ให้คนที่รักเท่านั้น คืนวันแต่งงานยิ่งดี ซึ่งถ้าเสียไปแล้วจะทำให้ดูเป็นผู้หญิงที่ถูกเรียกว่าง่าย ใจแตก ผ่านมือคนอื่นมาแล้ว เวลามีเพื่อนที่โรงเรียนมีอะไรกับแฟนแล้วเราก็จะรู้สึกว่าเขาเป็นผู้หญิงปล่อยงเนื้อปล่อยตัวด้วยความที่ถูกปลูกฝังมาแบบนั้น กลายเป็นว่าเป็นเราที่มองแต่ผู้หญิงว่าเสียหาย ไม่ได้สนใจในฝ่ายของผู้ชายว่าจะเสียหายหรือเปล่าเลยทั้งๆที่ทั้งสองคนก็ทำแบบเดียวกันอายุเท่ากัน พอโตขึ้นมาหน่อยนั่นแหละถึงได้เริ่มตั้งคำถามกับตัวเองว่า ทำไมล่ะ ทำไมผู้หญิงถึงเป็นฝ่ายเสีย เพราะแค่เป็นผู้หญิงหรอ เยื่อพรหมจรรย์มันเป็นอะไรที่สำคัญขนาดนั้นเลยหรอ มันก็แค่เยื่อบางๆที่เอาจริงๆไม่น่าจะมีใครเคยเห็นว่าของตัวเองรูปร่างยังไง แล้วทำไมคนถึงให้ความสำคัญกับมันได้ขนาดนี้ แค่เรื่องที่เป็นเรื่องธรรมชาติสุดๆอย่างเรื่องsexก็ถูกสังคมตีกรอบไปแล้วว่าผู้หญิงเป็นฝ่ายเสียเปรียบ กลายเป็นสิ่งของที่ถูกตีค่า รักษาตัวเองรอถวายให้กับผู้ชายที่ไม่ได้มีหลักการอะไรแบบนี้เลย ในขณะที่ผู้ชายนั้นต่อให้ผ่านมากี่ความสัมพันธ์ก็ไม่เสียหาย นอกจากนี้ยังมีเรื่องผู้ชายที่ถูกคาดหวังให้เป็นฝ่ายมี่เข้มแข็งกว่า คอยปกป้องดูแลและหาเลี้ยงครอบครัวเหมือนเป็นช้างเท้าหน้าทั้งๆที่มันควรเป็นอะไรที่แล้วแต่คู่แล้วแต่คนว่าจะตกลงกันยังไง จะแชร์กันไหม ไม่ใช่สถานะที่ถูกสังคมหล่อหลอมตั้งมาเป็นค่าdefualtแบบนี้

แต่จริงๆแล้วความคิดที่ว่าผู้หญิงต้องถือพรหมจรรย์ ทำงานบ้าน ดูแลครอบครัว แล้วผู้ชายเป็นฝ่ายหาเลี้ยงนี้ค่อนข้างเก่าแล้วแต่ก็ยังมีให้เห็นอยู่เยอะเหมือนกัน คุณพ่อที่บ้านเองก็ยังคิดว่าหน้าที่ของเขาไม่ใช่การเก็บบ้าน แต่เป็นหน้าที่ของแม่ สมัยนี้ผู้หญิงทำงานหาเลี้ยงครอบครัวไม่ใช่เรื่องแปลก ผู้หญิงแทบจะมีสิทธิ์ทำอะไรก็ได้เท่าเทียมกับผู้ชาย มีความสัมพันธ์แบบแฟร์ๆที่ต่างคนต่างแชร์ทั้งเงินและบทบาทหน้าที่ แล้วอะไรคือการที่บอกว่ามันยังไม่เท่ากันและไม่มีทางเท่ากันได้จริงๆล่ะ 

ความไม่เท่าเทียมทางเพศในความสัมพันธ์มันและในสังคมชายเป็นใหญ่มันไม่ใช่แค่ผู้หญิงไม่เท่าเทียมกับผู้ชาย แต่ผู้ชายก็ไม่สามารถมีสิทพิเศษบางอย่างเท่าผู้หญิงด้วยเหมือนกัน เอาจริงๆผู้ชายด้วยนั่นแหละที่เป็นเหยื่อของสังคมชายเป็นใหญ่ด้วยเหมือนกัน ถ้าผู้ชายที่มีลักษณะที่เหมือนผู้หญิงบางอย่างเช่นนิสัย ลักษณะหน้าตา ก็จะถูกหาว่าไม่แมน ดูไม่สมชาย และถ้าพูดถึงในความสัมพันธ์ก็ตาม ลองให้ผู้ชายสลับหน้าที่กับผู้หญิงดูสิ (ตามstereotypeของสังคมที่ผู้ชายต้องทำงานผู้หญิงต้องดูแลครอบครัว) ถ้าเป็นผู้ชายอยู่บ้านทำกับข้าวรอให้ผู้หญิงเป็นฝ่ายเลี้ยงดู ถึงทั้งสองคนจะโอเค มันก็จะมีความรู้สึกหรือแรงกดดันบางอย่างว่านี่มันไม่ใช่หน้าที่ที่ควรจะเป็น แม้แต่ผู้เขียนทั้งๆที่พยายามสลัดภาพจำของผู้หญิงผู้ชายออก ตอนที่นึกถึงตัวอย่างนี้ขึ้นมาก็ยังรู้สึกว่ามันแปลก ไม่มีให้เห็นมากนัก อย่างในละครเรื่องเลือดข้นคนจาง มีตัวละครพ่อม่ายคนหนึ่งที่ไม่ทำงาน วันๆแค่รับส่งลูกก็ถูกเรียกว่าเป็นบทผู้ชายขี้แพ้ แต่พอเมื่อสลับกันตามแบบเดิมก็ไม่ได้รู้สึกว่าแปลกอะไร และมีคนรู้จักอยู่เยอะมากที่มีลักษณะความสัมพันธ์แบบนี้ อีกตัวอย่างหนึ่งก็คือการอยากที่จะแต่งงานกับคนรวยของผู้หญิง การอยากให้สามีเลี้ยง ชอบผู้ชายนิสัยรวย จะสังเกตได้ว่าการพูดเล่นๆในลักษณะนี้มีอยู่ทั่วไปและไม่ได้เป็นเรื่องแปลกหรือน่าอับอายแต่อย่างใดในเมื่อสังคมไทยมีความเชื่อว่าสามีต้องเลี้ยงภรรยา แต่เมื่อลองมุมกลับดู ผู้ชายที่จะมาพูดแบบนี้จะถูกมองในด้านลบมากกว่าผู้หญิงมาก ถูกมองเป็นแมงดาเหมือนผู้ชายไม่ได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อพึ่งพาผู้หญิง ถ้าผู้ชายซ้อมภรรยาจะถูกมองว่าเลว แต่ถ้าถูกภรรยาซ้อมจะถูกมองว่าอ่อนแอ จริงๆยุคสมัยนี้ก็เริ่มที่จะเป็นยุคที่กดขี่ผู้หญิงแบบเดิมไม่ได้เหมือนสมัยก่อนแล้ว แต่อย่างไรก็ตามเส้นแบ่งระหว่างสองเพศมันก็เป็นเรื่องที่ยากที่จะข้ามผ่านหรือลบล้างมันออกไปได้

ดังนั้นความเท่าเทียมที่แท้จริงนั้นอาจจะหมายถึงการที่คนเราทุกคนไม่ถูกแบ่งเป็นเพศนั้นเพศนี้เลยด้วยซ้ำ เราไม่สามารถลบล้างภาพจำหรือลักษณะเฉพาะที่มีต่อเพศหญิงเพศชายได้ เราไม่สามารถลบล้างความเชื่อเก่าๆที่มีอยู่ในสังคมได้ มันไม่สามารถถูกลบล้างด่วยแนวคิดใหม่แล้วจะหายไปเลยเหมือนไม่เคยมีอยู่ มันเป็นเรื่องที่พิสูจน์ไม่ได้ตามวิทยาศาสตร์เหมือเรื่องโลกกลมโลกแบน ภาพจำแบบแผนและการถูกกดขี่จากสังคมทั้งผู้หญิงผู้ชายมันมีมานานและซับซ้อนกว่าที่จะลบล้างออกไปจนหมดได้  

แต่ว่าทั้งนี้ทั้งนั้นในความสัมพันธ์ระหว่างสองคนหรือมากกว่าสองคนมันก็เป็นเรื่องส่วนตัวของแต่ละคู่แต่ละคน บางคู่อาจจะอยู่กันแฟร์ๆ บางคู่อาจจะอยู่ตามแบบแผนที่สังคมวางไว้แล้วรู้สึกว่าความสัมพันธ์ของตนนั้นดีแล้วก็ได้ บางคู่อาจจะพอใจแล้วที่จะมีฝ่ายหนึ่งให้มากกว่าฝ่ายหนึ่งให้น้อยกว่า ไม่มีถูกไม่มีผิดอะไรทั้งนั้น เราเองก็ไม่สามรถไปเปลี่ยนแปลงอะไรสังคมได้หรือไปชี้หน้าบอกว่าเธอกำลังอยู่ในความสัมพันธ์ที่ไม่แฟร์อยู่นะ ดังนั้นมันจึงเป็นเรื่องที่ควรคิดได้จากตัวเองว่าไม่ควรมีความสัมพันธ์ไหนที่อยู่ด้วยกันแล้วเอาเปรียบกัน หรือให้ใครรู้สึกว่าถูกเอาเปรียบ ไม่ควรมีใครถูกทำให้เป็นสิ่งของ หรือถ้าทั้งสองฝ่ายพอใจกับความสัมพันธ์ที่มีอยู่ก็ไม่ต้องสนใจsocial normไปเลยในเมื่อสุดท้ายแล้วความสัมพันธ์ก็เป็นเรื่องของคนสองคนอยู่ดี

love people romance engagement
Photo by Katie Salerno on Pexels.com
affection afterglow backlit blur
Photo by luizclas on Pexels.com
hands engagement holding hands traceyshawphotography
Photo by Tracey Shaw on Pexels.com

One thought on “ในความสัมพันธ์ระหว่างผู้ชายกับผู้หญิง ความเท่าเทียมทางเพศมีจริงหรือเป็นเพียงภาพมายาในสังคมชายเป็นใหญ่

  1. อ่านแล้วเก็ทพอยท์ แต่แล้วก็ไพล่คิดไปถึงเรื่องอื่น ความจริงไม่ใช่แค่ความสัมพันธ์ที่เกิดจากเรื่องเพศ ต่อให้เป็นเป็นเพศเดียวกัน ในความสัมพันธ์หนึ่งไม่ว่าจะเป็นพี่น้อง แม่ลูก พ่อลูก หรือกระทั่งเพื่อน (ซึ่งเป็นบทบาทที่หลายคนอาจคิดว่าเสมอกันสุดแล้ว)​ เราก็มีบทบาทที่ไม่มีทางเท่ากัน ดังนั้นอาจไม่ใช่แค่เรื่องของบทบาททางเพศที่ทำให้เกิดหน้าที่ที่สังคมคาดหวัง แต่อาจเริ่มตั้งแต่การอยู่ร่วมกันเป็นสังคม มันเริ่มตั้งแต่ระดับปัจเจก>ถูกครอบด้วยบทบาทต่างๆ เช่นทางเพศ (อย่างบทความนี้)​ ทางสถาบันครอบครัว ทางการศึกษา ดังนั้นไม่ใช่แค่เราหลุดออกจากระบบสองขั้วชายหญิงแล้วเราจะไม่มีบทบาทอื่น สิ่งที่ควรถูกทำลายจริงๆ คืออะไรกันแน่กูไม่รู้ และต่อให้รู้กูก็ว่ามันมายาคติสุดๆ ถ้าคิดว่าจะทำลายมันลงได้ อ่านะ
    ปล. มึงพิมพ์ในมือถือป่ะ แก้คำผิดด้วยค่ะอีเวง

    Like

Leave a comment